เมนู

บทว่า อธิสีลสิกฺขา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ศีลยิ่ง คือสูงสุด เหตุนั้น
จึงชื่อว่า อธิศีล. อธิศีลนั้นด้วย เป็นสิกขา เพราะอันกุลบุตรพึงศึกษาด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาก็นัยนั้น.

[อรรถาธิบายอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา]


ถามว่า ก็ในอธิการนี้ ศีลเป็นไฉน? จิตเป็นไฉน?
อธิจิต เป็นไฉน? ปัญญาเป็นไฉน ? อธิปัญญา เป็นไฉน ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ศีล มีองค์ 5 และองค์ 10 ชื่อว่า
ศีลเท่านั้นก่อน. จริงอยู่ ศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นแล้วก็ตาม ยัง
มิได้อุบัติขึ้นก็ตาม เป็นไปอยู่ในโลก. เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทานใน
ศีลนั้น. เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิได้อุบัติขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้า สมณพรหมณ์
พวกกรรมวาทีประพฤติชอบธรรม พระเจ้าจักรพรรดิมหาราช และพระมหา-
โพธิสัตว์ ย่อมชักชวนมหาชนให้สมาทาน (ในศีลนั้น). พวกสมณพราหมณ์
ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทาน (ศีลนั้น) แม้ด้วยตนเอง. สมณพราหมณ์เป็นต้น
เหล่านั้น ครั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเสวยสมบัติในหมู่
ทวยเทพและในหมู่มนุษย์.
ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีล ท่านเรียกว่า อธิศีล. จริงอยู่ปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้น เป็นศีลที่ยิ่งและสูงสุดกว่าบรรดาโลกิยศีลทั้งหมดดุจพระอาทิตย์ยิ่งกว่า
แสงสว่างทั้งหลาย ดุจภูเขาสิเนรุสูงกว่าบรรพตทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็นไปได้
เฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น นอกพุทธุปบาทกาลหาเป็นไปไม่. ด้วยว่า
สัตว์อื่นไม่สามารถยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น
ทรงตัดกระแสทางแห่งความประพฤติเสียหายทางกายทวารและวจีทวารได้เด็ด-